9732 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำความรู้จักกับ Covid-19 โรคที่แพร่ระบาดและสร้างความเสี่ยหายไปทั่วโลก
โรคโควิด-19 (COVID-19, ย่อจาก Coronavirus disease 2019) มีชื่อชั่วคราวที่ใช้ในตอนแรกคือ 2019-nCoV และชื่อทางการในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนา ทำให้เกิดไข้ อาการไอ และอาจมี ปอดอักเสบ
โควิด-19 เริ่มพบผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อเดือน ธันวาคม w.ศ. 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเปย์ ภาคกลางของประเทศจีน ซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีผู้คนหนาแน่น จึงเกิดการระบาดใหญ่ได้รวดเร็ว การดูแลรักษาเป็นไปอย่างฉุกเฉิน มีคนป่วยหนักและเสียชีวิตมากเกินที่ควรจะเป็น จนประเทศจีนต้องปิดเมือง แต่เนื่องด้วยมีการเดินทางระหว่างประเทศจึงเริ่มมีการแพร่เชื้อไปในหลายประเทศ อย่างรวดเร็ว รวมถึงประเทศไทย
ผู้ป่วยรายแรกที่รับการรักษาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 เป็นคนจีนที่รับเชื้อจากการระบาดในประเทศจีน และได้เดินทางมาประเทศไทย หลังจากนั้น มีผู้ป่วยอีกหลายรายที่มาจากประเทศอื่น ส่วนผู้ป่วยที่ติดเชื้อในประเทศไทยรายแรก มีการรายงานเมื่อ 31 มกราคม 2563
สถานการณ์โรคโควิด-19 ในปัจจุบัน
ในขณะนี้ โรคโควิด-19 ได้ระบาดไปทั่วโลกและยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อรวมกว่า 88.8 ล้าน (ข้อมูลวันที่ 09/01/2564) แม้ในประเทศไทยจะสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่เนื่องด้วยการพัฒนาสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็ว ที่มีความรุนแรงโดยสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น จึงทำให้มีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวงกว้างโดยใช้ระยะเวลาเพียงไม่นาน เนื่องจากเชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์นี้สามารถฟักตัวอยู่ในร่างกายได้โดยไม่แสดงอาการในผู้ป่วยกว่า 90% และแพร่เชื้อได้ง่าย จนเกิดเป็นการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ บางรายมีอาการไอ บางรายมีไข้และไอมีเสมหะ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส โดยโควิด-19 จะส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือสามารถดูแลตามอาการได้ จะมีเพียงบางรายโดยเฉพาะผู้สูงวัย มักมีข้และหายใจเร็ว หอบ จากปอดบวม มีน้อยรายที่มีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหลหรืออุจจาระร่วง เมื่อป่วยรุนแรง จะหายใจเร็ว หอบ จนถึงการหายใจล้มเหลวและช็อคได้ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีโรคประจำตัวอยู่เดิม
การตรวจพบเชื้อในโรงงานสมุทรสาคร
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่สุดมีจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อแล้ว 58 จังหวัด (ข้อมูลวันที่ 09/01/2564, ที่มากรมควบคุมโรค กระทรวงสารารณสุข) โดยจุดแพร่ระบาดของโรคจะกระจายจาก ตลาดในจังหวัดสมุทรสาคร จากเดิมมีพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือสีแดงเพียง 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร แต่ล่าสุดเพิ่มเป็น 5 จังหวัด ซึ่งจุดแพร่ระบาดจะเป็นสถานที่ที่มีผู้คนรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก เช่น ตลาด บ่อน สถานบันเทิง โรงงาน และที่พักอาศัยที่มีแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงโรงงานผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลบรรจุกระป้องของบริษัทขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากกรตรวจคัดกรองเชิงรุกภายในโรงงาน จึงได้มีการดำเนินการตามมาตรการ และแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเร่งด่วนเข้มข้นสูงสุด ได้แก่ ส่งพนักงานที่มีความเสี่ยงทุกคนในการสัมผัสผู้ติดเชื้อ เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทันที และให้พนักงานกักตัวเพื่อดูอาการเป็นเวลา 14 วัน ส่วนโรงงานสั่งหยุดกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อ พร้อมดำเนินการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทันที ในพื้นที่ดังกล่าวตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค
แถลงการณ์การแนะนำใช้ฟ้าทะลายโจรจากกระทรวงสาธารณสุข
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ในประเทศไทยและหลายประเทศได้มีการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อใช้รักษาอาการของโรคโควิด-19 โดยในประเทศไทยได้มีการนำสมุนไพราทะลายโจรที่มีสรรพคุณในการช่วยลดไข้ แก้หวัด แก้ไอ เจ็บคอ และพบว่าสาร แอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ที่เป็นสารสำคัญ สามารถทำลายไวรัสโดยตรง และต้านไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนซลล์ได้ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบได้ อีกทั้งยังมีการนำาทะลายโจรมาใช้กับเชื้อไวรัสโคโรน่า โรค SARS (ซาร์) เมื่อ w.ศ.2545-2546 ที่ผ่านมา
คลิกเพื่อติดต่อขอตัวอย่างเพื่อนำเสนอฝ่ายจัดซื้อ หรือ เพื่อติดต่อขอรับใบเสนอราคา
คลิปแนะนำการใช้ฟ้าทะลายโจร : https://www.facebook.com/informationcovid19/videos/243392180194318
โดย นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อ จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกันโรค โดยที่ยังไม่มีอาการ เพราะไม่มีผลในการป้องกัน แต่ให้รับประทานทันทีเมื่อเริ่มมีอาการคล้ายอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจอื่น
ในระหว่างที่หลายประเทศได้มีการคิดค้นและพัฒนา เพื่อสร้างวัคซีนเพื่อต้านเชื้อไวรัสโคโรน โควิด-19 ประเทศไทยได้มีการวิจัยการใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยกับไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนธันวาคม 2563 กระทรวงสารารณสุขเผยผลวิจัยฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยกับไวรัสโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรงทุกรายมีอาการดีขึ้น เตรียมต่อยอดวิจัยในผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งเป็นจังหวัดแรกที่มีการพบผู้ติดเชื้อในระลอกใหม่จากผู้ที่เดินทางมาจาก ประเทศเมียนมา
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผ่นไทยแลการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ดำเนินการศึกษานำร่องผลของยาสารสกัดฟ้าะลายโจรขนาดสูงต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 หลังจากการวิจัยในหลอดทดลอง พบมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อการป้องกันโรคโดยที่ยังไม่มีอาการ ขณะนี้ได้ขยายผลต่อยอดงานวิจัยในคน โดยร่วมกับโรงพยาบาลสมุทรปราการ ซึ่งดูแลผู้ป่วยจากนอกประเทศในสถานที่ที่รัฐจัดให้ (State Quarantine)
ผลการศึกษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่รับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร ขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่สามของการได้รับสารสกัดดังกล่าว โดยหากแยกรายละเอียดอาการ จะพบว่า อาการไอ, เจ็บคอ, มีเสมหะ , มีน้ำมูก , ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ มีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยไม่มีอาการข้างเคียงค่าการทำงานของตับและไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนผลลัพธ์ด้าน Pro-inflammatory cytokines และสารชีวโมเลกุล อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โดยในขณะนี้กรมการแพทย์แผนไทยได้มีการขออนุญาตคณะกรรมการฯ เปลี่ยนสถานพยาบาลที่ทำการศึกษาวิจัยในคนเป็นที่ รพ.สมุทรปราการ และรพ.บางละมุง เนื่องจากเป็นสถานพยาบาลหลักที่รับผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาหากตรวจพบว่าป่วยระหว่างการกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้(State Quarantine) หลังเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ โดยมีความพร้อมตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา และดำเนินการได้ทันทีหากมีผู้ติดเชื้อตามเกณฑ์เข้ารับการรักษา
วิธีการรับประทานฟ้าทะลายโจร
ในปัจจุบันมีฟ้าทะลายโจร 2 รูปแบบ ได้แก่ ฟ้าะลายโจรบดผงและฟ้าทะลายโจรสกัด โดยการรับประทานฟ้าทะลายโจรบดผงสามารถรับประทานครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ส่วนสารสกัดฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 1-2 แคปซูล เพื่อให้ได้รับสารสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ประมาณ 20 มิลลิกรัม/ครั้ง วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร การรับประทานยาทั้งสองแบบในขนาดที่แนะนำ จะให้สารแอนโดรราโฟลด์ประมาณ 60 มิลลิกรัม/วัน แนะนำให้มียาาทะลายโจรเป็นยาประจำบ้าน อาจใช้ร่วมกับยาพาราเซตามอลได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกในประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดได้อย่างรวดเร็ว หลังจากมีการล็อคดาวน์ ร่วมกับข่าวการรับประทานฟ้าทะลายโจรสกัดมีส่วนช่วยป้องกันโควิด-19 ทำให้ประชาชนพากันตื่นตัวและหาซื้อฟ้าทะลายโจรมารับประทานกันเป็นจำนวนมาก อาจเป็นไปได้ว่าผู้ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการหรือมีอาการในระยะเริ่มต้น เมื่อรับประทานฟ้าทะลายโจรสกัดไปแล้ว ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง และลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนด้วยหรือไม่ ยังเป็นประเด็นที่น่าคิด